วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีการศึกษา

                          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ     หมวด     เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

มาตรา ๖๓
          รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น
วิเคราะห์
ที่ผ่านมา เรามีการใช้คลื่นความถี่ และสื่อตัวนำต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในงานการศึกษากันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการศึกษา โทรทัศน์เพื่อการศึกษา แต่ทว่ามันยังไม่ค่อยจะเป็นระบบระเบียบเท่าที่ควร เพราะผู้ที่จะเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ได้จะต้องมีทุนพอสมควรที่จะประมูลได้ ต่อไปนี้จะมีการจัดสรรให้เท่าเทียมกัน และเมื่อกำหนดไว้ใน พรบ.การศึกษา เช่นนี้แล้วก็นาจะเป็นผลดียิ่งขึ้นที่จะทำให้หน่วยงานองค์กรต่างๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และจะเป็นประโยชน์ต่อการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม แต่ทว่าในขณะนี้ การคัดเลือกผู้บริหารคลื่นความถี่ (กทช) คณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่แห่งชาติ ยังไม่มีความโปร่งใสกันเลย ยังเล่นพรรคเล่นพวก โดยไม่ได้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเลย เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา มิใช่กอบโกย
มาตรา ๖๔
         รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิด ให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
 
วิเคราะห์
พรบ.กำหนดไว้ให้รัฐส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆซึ่งจะเป็นผลดีต่อการศึกษาของประเทศไทย ที่มีแรงสนับสนุนที่ดีเยี่ยม แต่การสนับสนุนของรัฐจะเป็นไปด้วยดีก็ต่อเมื่อรัฐ มีความพร้อม และมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในขณะนี้ประเทศไทยยังเป็นหนี้ ยังต้องกู้ยืมเงินมีใช้หนี้ แล้วเงินที่จะนำมาสนับสนุน มาเป็นทุนในการวิจัยและการพัฒนาต่างๆก็ต้องยืมเขามาทั้งนั้นฉะนั้นแล้วจะต้องอาศัยมาตรา65มาประกอบกันมาตรา ๖๕
         ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
วิเคราะห์              เพื่อประสิทธิภาพที่เต็มพิกัด เราจะต้องพัฒนาบุคลากรของเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภค ให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อที่จะได้ไม่ล้าสมัยเป็นการศึกษายุคไดโนเสาร์ ถึงแม้ไม่หวังจะให้ล้ำหน้าอารยประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว ก็ขออย่าให้กินฝุ่นก็พอแล้ว เพื่ออนาคตของเด็กไทย
มาตรา ๖๖
         เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
วิเคราะห์
รัฐได้เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างเต็มที่ เมื่อโอกาสได้อำนวย แต่ในมาตรานี้ก็ไม่ได้ระบุออกมาชัดเจนว่าเป็นเทคโนโลยี อะไรบ้าง ถ้าระบุด้วยว่าเป็นเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตก็น่าจะดีกว่านี้ โดยให้มีทักษะที่เพียงพอในการศึกษาด้วยตนเอง และกับการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเมื่อเราติดอาวุธทางปัญญาให้กับเด็กไทยได้ ก็เท่ากับอนาคตใหม่ของชาติไทยต้องสดใสแน่นอนเพราะเราต้องให้เขาได้บริหารบ้านเมืองต่อไป
มาตรา ๖๗
         รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
วิเคราะห์
เป็นการประกันคุณภาพ ขององค์กร จึงต้องมีการตรวจสอบได้ ด้วยความโปร่งใส เพราะสร้างคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามให้เกิดขึ้นจงได้แก่ผู้ที่มีอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ผู้ที่มีความพร้อมจะต้องช่วยเหลือผู้ที่ยังด้อยโอกาสอยู่ เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมือง ในอดีตที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ยังถือคติที่ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก กินกันเป็นลูกโซ่ กินต่อกันเป็นทอดๆ จึงเกิดปัญหาการคอรัปชั่นขึ้น และไม่เป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย
มาตรา ๖๘           ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง
วิเคราะห์
                เป็นมาตราที่สำคัญที่สุดเพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยปัจจัยในการผลิตที่สำคัญที่สุดก็คือ เงิน รัฐกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แล้วกองทุนนี้บริหารและจัดการตัวเองได้เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดเพราะรัฐจะได้ไม่ต้องมารับภาระด้านการกัดการกองทุนและเทคโนโลยีที่น่าสนใจในขณะนี้คือระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ถ้าให้กองทุนที่ว่ามามาพัฒนาและบริหารระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ก็จะหมายถึงรายได้ ที่หลั่งไหลเข้ากองทุนที่มีอย่างมหาศาล อนาคตการศึกษาของเด็กไทยจะต้องรุ่งเรือง ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตนี้ เป็นเทคโนโลยีที่สะดวกสบาย และมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคโลกไร้พรมแดนเป็นอย่างยิ่ง
มาตรา ๖๙
                            รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
วิเคราะห์
                 เป็นมาตราแห่งความรอบคอบ ที่จะต้องกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในนโยบาย และแผนงาน รวมทั้งการประสานงาน การประเมินคุณภาพต่างๆ ซึ่งก็เพื่อประสิทธิภาพแห่งเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา   
สรุป
                 จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542  ในหมวด    เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ฉบับนี้ ได้มีการกำหนดเอาไว้ได้ครอบคลุมพอสมควร โดยให้มีกองทุน เพื่อการสนับสนุน การวิจัย การพัฒนา และการผลิตต่างๆ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งมีการพัฒนา ผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วย ให้มีทักษะอย่างเพียงพอที่จะบริโภคได้อย่างชาญฉลาด และคุ้มค่าที่สุด กับการศึกษาประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อความรัดกุมยิ่งขึ้นในการปฏิบัติงาน ยังได้กำหนดให้มีการตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เพื่อกำจัด   พวกที่คอยแต่จะโกงกินและ คอรัปชั่นบ้านเมือง ด้วยความหวังที่ประเทศไทยจะมีอนาคตใหม่ที่สดใสด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 
เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 16 ตอนที่ 74 .( 19 สิงหาคม 2542)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น